จดหมายเปิดผนึกและข้อเรียกร้องถึงผู้นำทั่วโลก #FaceTheClimateEmergency

GRETTA LETTER.png

#FaceTheClimateEmergency

พวกคุณต้องหยุดแสร้งทำเป็นว่าเราสามารถแก้วิกฤตสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศได้ โดยการไม่นับว่ามันเป็นวิกฤต

นี่คือข้อเรียกร้องของพวกเราในจดหมายฉบับนี้:

ก้าวแรกที่เราจำเป็นต้องเปลี่ยน เพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตทางภูมิอากาศและระบบนิเวศ

•  หยุดการลงทุนเพื่อค้นหาและขุดเจาะเชื้อเพลิงฟอสซิลในทันที รวมถึงหยุดการอุดหนุนเม็ดเงินให้กับการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล และต้องหยุดใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งหมดด้วย

•  สนับสนุนให้ระบุว่าการทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นอาชญากรรมระหว่างประเทศ

•  รวบรวมข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป้าหมายของการปล่อยก๊าซฯ ทั้งหมด รวมถึงดัชนีชี้วัดการบริโภค การบิน และการขนส่ง

• จัดทำรายงานงบประมาณคาร์บอนประจำปี (carbon budgets) ต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้! โดยอ้างอิงหลักทางวิทยาศาสตร์และรายงานของ IPCC ว่าเรามีโอกาส 66% ในการป้องกันไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นอีก 1.5 องศาเซลเซียส สิ่งเหล่านี้ควรรวมเข้ากับเรื่องดุลภาพ (global aspect of equity) จุดวิกฤต (Tipping point) และวงจรสะท้อนกลับ (feedback loops) ของโลกด้วย (เช่น เมื่อโลกยิ่งร้อนขึ้น แผ่นน้ำแข็งจะยิ่งละลายเร็วขึ้น และเมื่อแผ่นน้ำแข็งที่ทำหน้าที่สะท้อนแดดเหลือน้อยลง โลกก็ยิ่งร้อนขึ้นด้วย) เราไม่สามารถเชื่อว่าเราสามารถพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ในอนาคตเพียงอย่างเดียว

• มุ่งปกป้องหลักประชาธิปไตย

•  ออกแบบนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศที่ ปกป้องกลุ่มแรงงานและกลุ่มเปราะบาง และลดความเหลื่อมล้ำในทุกรูปแบบ ได้แก่ เศรษฐกิจ ชาติพันธุ์ และเพศ

•  เปลี่ยนมุมมองและยอมรับว่าวิกฤตสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศเป็นเรื่องเร่งด่วน

 

เราเข้าใจดีว่าโลกใบนี้ซับซ้อนและรู้ดีว่าข้อเรียกร้องนี้ไม่ง่ายเลยที่จะปฏิบัติตามได้ การเปลี่ยนแปลงเพื่อปกป้องมนุษยชาตินี้ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ แต่มันจะน่าเหลือเชื่อยิ่งกว่า ว่ามนุษย์จะยังคงมีชีวิตอยู่ได้ในโลกที่ร้อนขึ้นนี้กันได้อย่างไร นี่ยังรวมถึงความเป็นไปได้ในการเกิดภัยพิบัติอันเป็นผลจากจากการดำเนินธุรกิจอย่างที่เราทำกันทุกวันนี้ด้วย

———————————————————————— 

ปีที่แล้ว ผู้คนจับตามองสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยความหวาดกลัวต่อผลกระทบของโรค ในช่วงเวลาเลวร้ายนี้เอง เราได้เห็นผู้นำและคนจำนวนมากทั่วโลกออกมาช่วยกันทำให้สถานการณ์ดีขึ้น

 

นียิ่งทำให้เห็นได้ชัดว่า วิ ก ฤ ต ทางสิ่งแวดล้อม ไม่เคยถูกมองเป็น "วิกฤต" จริงๆ ทั้งสำหรับนักการเมือง สื่อสารมวลชน นักธุรกิจ หรือนักเศรษฐศาสตร์ ยิ่งเราแสร้งทำเป็นว่าเราจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้สำเร็จและหลีกเลี่ยงหายนะทางภูมิอากาศได้ด้วยระบบที่เป็นอยู่อย่างทุกวันนี้เท่าไหร่ เรายิ่งสูญเสียเวลาที่มีค่ามากขึ้นเท่านั้น เพราะเราจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เลย หากเราไม่มันเป็นปัญหา

 ความยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ ตราบใดที่เรายังคงเพิกเฉยต่อความอยุติธรรมทางสังคมและเชื้อชาติ รวมถึงการกดขี่ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งได้กลายเป็นรากฐานในยุคสมัยใหม่ การต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและความเท่าเทียมเป็นเรื่องสากล ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องความยุติธรรมด้านสังคม เชื้อชาติ สภาพภูมิอากาศ ความเท่าเทียมทางเพศ ประชาธิปไตย สิทธิของความเป็นมนุษย์ ของชาติพันธุ์ LGBTQ หรือสิทธิของสัตว์ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและสื่อ การต่อสู้เพื่อความสมดุล ความกินดีอยู่ดี การมีระบบที่เกื้อกูลต่อการใช้ชีวิต หากเราไม่มีความเท่าเทียมแล้ว เราก็จะไม่เหลืออะไรเลย ดังนั้น เราจึงไม่จำเป็นต้องเลือกหรือแยกแยะว่าปัญหาอะไรที่สำคัญเร่งด่วนกว่ากัน เพราะทุกปัญหาล้วนเชื่อมโยงกันหมด

 

เมื่อคุณลงนามในสนธิสัญญาปารีส และปฎิญาณที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว

ประเทศที่มีรายได้สูงที่มีความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง ควรแสดงความรับผิดชอบและทำตามข้อตกลงในสนธิสัญญาให้ได้

 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2050 สำหรับยุโรปและสหรัฐอเมริกา

เป้าหมายนี้คำนวณจากสถิติงบประมาณคาร์บอน ที่แสดงให้เห็นว่า เรามีโอกาสเพียง 50% ในการป้องกันไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงไปกว่า 1.5 องศา สถิตินี้ยังไม่รวมปัจจัยต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบด้วย เช่น ความเหลื่อมล้ำ จุดวิกฤต และวงจะสะท้อนกลับ รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่แล้วอย่างมลพิษทางอากาศ ซึ่งส่งผลให้ความร้อนในโลกสูงมากขึ้น ในความเป็นจริงแล้ว เราอาจมีโอกาสไม่ถึง 50% ที่จะป้องกันไม่ให้โลกของเราร้อนขึ้น

 

และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ตั้งไว้จะไม่มีความหมายอะไรเลย หากเรายังนิ่งดูดายต่องบประมาณคาร์บอนที่เราเหลืออยู่ ซึ่งงบประมาณเริ่มนับถอยหลังและลดลงทุกวัน ตั้งแต่วันนี้ไม่ใช่ในอนาคต

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อาจไม่ได้บอกเราอย่างละเอียดว่าเราควรทำอย่างไร แต่มีข้อมูลให้เราได้ศึกษาและประเมินความเป็นไปได้มากมาย เรามีหน้าที่ที่จะเชื่อมโยงข้อมูล ต่อจุดแต่ละจุดเข้าด้วยกัน และพวกเราก็ทำการศึกษามาแล้ว และเราจะไม่ยอมรับการเลือกที่ขาดความรับผิดชอบของคุณ หากคุณบอกว่างบประมาณคาร์บอน 50% ไม่เพียงพอ ก็เท่ากับคุณยอมแพ้แล้ว...และนั่นไม่ใช่ทางเลือกของเรา

 เราเห็นด้วยกับการลงทุนและนโยบายด้านความยั่งยืน แต่คุณต้องไม่ลืมแม้แต่วินาทีเดียวว่า สิ่งที่คุณได้หารือกันแล้ว ยังห่างไกลจากคำว่ายั่งยืนอยู่มาก พวกเราต้องเห็นภาพทั้งหมดว่าเรากำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตที่ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของมนุษยชาติ ในวิกฤตนี้ เราไม่สามารถที่จะซื้อ สร้าง หรือลงทุนได้อีก การตั้งเป้าที่จะฟื้นระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อเอาเงินนั้นมาขับเคลื่อนด้านสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่ไร้สาระ ระบบการเงินทุกวันนี้ไม่ได้พัง มันทำหน้าที่ของมันอย่างที่มันออกมาให้เป็น แต่ระบบนี้ไม่ไม่สามารถซ่อมได้ เราจึงต้องการ “ระบบใหม่”

 

การแข่งขันเพื่อรักษาความเป็นอยู่ของชีวิตบนโลกใบนี้ ต้องเริ่มเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่อีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่ต้องเป็นตอนนี้เท่านั้น! และการแข่งขันนี้ควรจะรวมข้อมูลต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อทำให้เราเห็นความเป็นไปได้ที่สุดที่จะป้องกันโลกไม่ให้มีอุณหูมิสูงไปกว่า 1.5 องศา พวกเราจำเป็นต้องยุติการทำลายล้าง การใช้ทรัพยากรเกินขนาด และการทำลายระบบนิเวศที่เป็นสิ่งค้ำจุนชีวิตของเรา เราควรจะก้าวไปสู่เศรษฐกิจใหม่ที่ลดการปล่อยคาร์บอน (decarbonized economy) โดยมีแก่นคือความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์และโลกใบนี้

ถ้าทุกประเทศยังเดินตามแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตัวเองตามที่ตั้งเป้าหมายไว้เดิม เราก็ยังคงต้องเจอกับความหายนะจากการที่อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้น 3-4 องศา กลุ่มผู้มีอำนาจในปัจจุบันได้ยอมแพ้กับความเป็นไปได้ที่จะมอบอนาคตที่ดีให้กับคนรุ่นต่อ ๆ ไป พวกเขายอมแพ้โดยไม่ได้พยายามเลย

แผนการผลิตพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลของโลกจนถึงปี 2030 นั้น สูงกว่าที่เราจะรับมือกับอุณหภูมิ 1.5 องศาอยู่ถึง 120%  และแผนการผลิตนี้ไม่ได้ช่วยให้เราพ้นวิกฤตได้ ถ้าคุณได้อ่านและทำความเข้าใจรายงาน IPCC SR1.5 และรายงานของ UNEP เรื่องช่องว่างการผลิต ( Production Gap) อีกทั้งได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาปารีสแล้ว แม้แต่เด็ก ๆ ก็ยังเห็นข้อเท็จจริงที่ว่า ปัญหาภูมิอากาศและระบบนิเวศไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยระบบต่างๆ ที่เรามีในทุกวันนี้ และนี่ไม่ใช่ความคิดเห็น แต่เป็นความจริงที่อ้างอิงจากข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน

 

ถ้าเราต้องการที่จะหลีกเลี่ยงการล่มสลายทางภูมิอากาศ เราต้องกล้าที่จะฉีกสัญญาและละทิ้งข้อตกลงต่างๆ ที่มี และเริ่มต้นในระดับใหญ่ขึ้นในแบบที่เราไม่เคยจินตนาการถึงมาก่อน และการกระทำเหล่านั้นไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ภายใต้ระบบการเมือง เศรษฐกิจ หรือกฎหมายอย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

 เวลาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการควบคุมไม่ให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นอีกไม่เกิน 1.5 องศา เพราะเวลากำลังเดินไปข้างหน้า แต่ละเดือน ปี ที่มาถึงจึงไม่อาจปล่อยให้สูญเปล่าได้ สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณทำขณะนี้ อาจไม่เพียงพออีกต่อไป คุณต้องเริ่มลงมือทำสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้

และคุณอาจจะเลือกที่จะนิ่งดูดายต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่นั่นไม่ใช่ตัวเลือกสำหรับเรา หรือสำหรับลูกของคุณ ณ เวลานี้ ไม่มีที่ไหนบนโลกที่เด็ก ๆ จะได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยในอนาคต วิกฤตนี้จะเกิดขึ้นและจะเป็นจริงอย่างยิ่ง ตลอดชีวิตของเรา เราขอให้คุณเผชิญหน้ากับภาวะฉุกเฉินทางสภาพอากาศ

We ask you to face the climate emergency.

 by:

Luisa Neubauer

Greta Thunberg

Anuna de Wever van der Heyden

Adélaïde Charlier

 ร่วมลงชื่อกับพวกเขาได้ที่ https://climateemergencyeu.org/

Period Pantone: the new shade of red

120648838_647238372507082_5246081548326788654_o.jpg

Pantone บริษัทเชี่ยวชาญด้านสีชื่อดัง ออกประกาศชื่อสีใหม่ "Period Red" หรือสีแดงประจำเดือน เพื่อต้องการสื่อสารเรื่องเมนส์หรือประจำเดือนของผู้ใหญ่ที่มักจะไม่ค่อยถูกพูดถึงในที่สาธารณะ

.

"สีแดงประจำเดือนเป็นเฉดสีที่แอคทีฟและผจญภัย เราอยากให้ผู้คนที่อยู่ในช่วงประจำเดือนภูมิใจในตัวเอง และอยากให้อยากเรียกร้องให้ทุกคนไม่ว่าเพศไหนๆ พูดเรื่องนี้ได้อย่างเปิดเผยเพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์และร่างกายของเรา" Laurie Pressman รองประธานบริษัท Pantone เล่า

.

การประกาศสีใหม่นี้ เป็นความร่วมมือระหว่า Pantone และ Intinima บริษัทจำหน่ายสินค้าสำหรับสาวๆ ซึ่งเขายังเสริมว่ายังมีผู้หญิงในหลายพื้นที่ทั่วโลกถูกเหยียดในช่วงมีประจำเดือน ขาดโรงเรียน ขาดการเข้าถึงสินค้าที่ถูกสุขอนามัย

.

Periods don’t stop for pandemics ยิ่งช่วงวิกฤตโควิด 19 ทำให้การผลิตและการขนส่งผ้าอนามัยมีปัญหาไปด้วย ผู้หญิงหลายคนจึงประสบปัญหาการเข้าถึงผ้าอนามัยและสุขอนามัยที่ดี การที่เราจะผลักดันเรื่องนี้ได้อาจจะเริ่มจากการพูดเรื่องนี้อย่างเปิดเผยเสียก่อน

.

ส่วนใครเปิดใจแล้ว และอยากลองใช้ถ้วยอนามัย

ทักแอดมาได้เลย เรายินดีดูแลตลอดการใช้งาน m.me/refillstationbkk

หรือไปช้อปกันเงียบๆ ได้ที่ www.lazada.co.th/refill-station

#LittleThingsMakeGreatChange #RefillStation #RefillStationBKK #Bulkstore #zerowaste #zerowasteThailand #Plasticfree #Noplastic #organic #ecofriendly #period #periodred #MenstrualCup

กินแต่ผักก็ไม่รอด ไมโครพลาสติกปนเปื้อนในผักและผลไม้

106205385_586717368559183_7886498075703531081_o.jpg

ล่าสุด เราก็ได้รับข่าวร้าย เมื่อนักวิจัยชาวอิตาลี ตรวจพบไมโครพลาสติกในผักและผลไม้แล้ว! 😱😱😱

อย่างที่เราทราบกันว่าไมโครพลาสติกนั้นปนเปื้อนอยู่ในทะเล น้ำประปา ปลา เกลือ เบียร์ อากาศ และดิน แล้วยังมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นยืนยันการตรวจพบไมโครพลาสติกปนเปื้อนในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เนื้อไก่ ปลากระป๋อง หอย และอีกมากมาย ทำเอาสายเนื้อวิตกกันไปเลย .

สายผักที่เคยถกเถียงกันว่า อนุภาคพลาสติกเหล่านี้จะถูกดูดซึมเข้าสู่รากของพืช ปนเปื้อนเข้าสู่ผักและผลไม้ได้ไหม? กลุ่มนักวิทยาศาสตร์บ้างว่าเป็นไปไม้ได้ เพราะขนาดของไมโครพลาสติกน้ันใหญ่เกินกว่าที่รากจะดูดเข้าไปได้ และยังไม่เคยมีผลวิจัยยืนยันการพบไมโครพลาสติกในพืช . แต่ผลงานวิจัยก็ออกมาแล้วว่า “มันเป็นไปได้จ้า” .

งานวิจัยครั้งนี้ตีพิมพ์ใน The Journal Environmental Research โดยเขาตรวจจากการสุ่มซื้อผักผลไม้ยอดนิยม 🍎แอปเปิ้ล 🥕แครอท 🍐แพร์ 🥦บล็อคโคลี่ และ🥬ผักกาด จาก 6 ร้านค้าในเมือง Sicilian ประเทศอิตาลี นำมาปอกเปลือก ทำความสะอาด แล้วนำมาปั่นรวมกัน จากนั้นก็เอาตัวอย่างมาทำให้แห้งแล้วส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ผลพบว่าในทุกตัวอย่างที่นำมาตรวจล้วนพบไมโครพลาสติกปนเปื้อน โดยผลไม้ที่พบมากที่สุดคือแอปเปิ้ล ส่วนฝั่งผักคือแครอท .

การค้นพบครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นให้เราเริ่มตระหนักว่า ถ้าไมโครพลาสติกปนเปื้อนในผักและผลไม้ เจ้าไมโครพลาสติกเหล่านี้ก็อาจจะเดินทางสู่สิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่กินผักผลไม้เข้าไป วัว กระต่าย นก #สโนไวท์ก็ด้วย .

นอกจากผลกระทบทางสุขภาพแล้ว ยังอาจผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรแบบที่เราคาดไม่ถึง จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Nanotechnology สัปดาห์นี้กล่าวว่าพืชดูดซับพลาสติกชิ้นเล็ก ๆ ผ่านทางราก ผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐอเมริกาและจีนพบว่าการดูดซึมและสะสมพลาสติกของพืชนั้นเกิดขึ้นทั้งในระดับเนื้อเยื่อและโมเลกุล ซึ่งทำให้พืชเจริญเติบโตช้าลง มีผลเล็กกว่าและรากสั้นกว่ามากด้วย แถมกระทบต่อสารอาหารในพืชและคุณค่าทางโภชนาการ พลาสติกเล็กจิ๋วเลยอาจจะกระทบต่อผลผลิตเกษตรกรรมทั้งระบบ .

การพบครั้งนี้นับเป็นข่าวร้ายใหญ่ของวงการวิทยาศาสตร์และยืนยันถึงอันตรายของไมโครพลาสติกที่เป็นภัยคุกคามระบบนิเวศของโลก แม้เราจะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเจ้าไมโครพลาสติกมีผลร้ายต่อร่างกายอย่างไรบ้าง แต่นี่เป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม .

คำกล่าวที่ว่า 🍎 an apple a day keep the doctor away อาจใช้ไม่ได้แล้วในยุคนี้ถ้าแอปเปิ้ลลูกนั้นเต็มไปด้วยสารพิษ และคงถึงเวลาที่เราจะต้องเปลี่ยนคำพูดใหม่เป็น 🥤no plastic a day keep the doctor away ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

อ่านผลวิจัยฉบับเต็มได้ที่

https://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-8459727/Microplastics-contaminating-fruit-vegetables-eat-including-apples-lettuces.html?fbclid=IwAR08v2rhxLdJGK6HSNa-hV8Tf4EHl2UX65E9Jz_vx3Oe68T_Ev2AgOdnJ5A

https://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-8450915/Plants-absorb-tiny-pieces-plastic-roots-stunt-growth.html?fbclid=IwAR18STo46k46cgpldP-N_X8aBtS2C_puQIAiwhv7fiFD3BVS9MTlRU5fH34

Nano-Plastic! ในเลือดมนุษย์

😱😱 พลาสติกอาจทำให้เส้นเลือดอุดตัน? 😱😱 งานวิจัยแรก นาโนพลาสติกในเลือดมนุษย์

67400157_377406006156988_4027615417299107840_o.png

เราอาจจะได้ยินกันมามากแล้วเกี่ยวกับไมโครพลาสติกหรือพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ทีนี้พอไมโครพลาสติกย่อยเล็กลงไปอีก เล็กลงไปอีก...เล็กลงอีก...อีก...อีกนิด...อี๊กกก! เอาเป็นว่าโคตรเล็กระดับนาโนเมตรคงพอๆกับฝุ่น PM2.5 (ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน) ที่เราต้องป้องกันแบบพิเศษ .

ถ้ากินพลาสติกขนาดใหญ่หน่อยเข้าไป อย่างดีเราก็อาจจะอุจจาระออกมาหรือถ้าแย่หน่อยก็ดูดซึมสารพิษอย่าง BPA หรือพิษอื่นๆที่ติดมากับพลาสติกเข้าไปก่อนจะถ่ายออกมา แต่นาโนพลาสติกนี้ไม่ออกมาจ้า เพราะมันเล็กพอที่จะผ่านผนังลำไส้เล็กเข้าสู่เส้นเลือดและวิ่งวนอยู่ในตัวของเราได้ .

งานนี้เป็นงานวิจัยของอินเดียโดย Prof. Chandrasekaran 👨‍🔬 ซึ่งทำการวิจัยผลของนาโนพลาสติกกับเลือดของคน ตัวอย่างเลือดจะถูกนำมาปั่นเหวี่ยงเพื่อแยกเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และน้ำเลือดแบบที่เราเคยเรียนกัน แล้วเขาพบว่านาโนพลาสติกนี้จะไปจับกับโปรตีนในน้ำเลือด กลายเป็น 💉 Nanoplastic-protein complex 💉 และมีแนวโน้มจะจับกันใหญ่ขึ้นด้วย ทำให้โปรตีนที่ควรจะทำงานไม่ทำงานอีกต่อไปและอาจจะก่อให้เกิดการอุดตันได้ .

ถ้าความเข้มข้นของ Nanoplastic-protein complex นี่สูงมากก็อาจจะทำให้เซลล์เป็นพิษ หยุดยั้งการทำงานของเม็ดเลือดขาว หรือทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้เลย อย่างไรก็ตามรายงานนี้ก็เป็นการทดลองในหลอดทดลองเท่านั้นเพราะแน่นอนว่าก็คงยังไม่มีหน้าไหนกล้าเป็นหนูทดลองในงานวิจัย 🐀 . แต่ก็อีกนั้นแหละ หนูทดลองจริงๆก็มีใช่ไหมล่ะ มีนักวิจัยอีกกลุ่มลองเอานาโนพลาสติกฉีดเข้าไปในหนูแล้วและพบว่านาโนพลาสติกสามารถแพร่ไปยังอวัยวะต่างๆได้ทั่วร่างกาย แต่จะมีสะสมเยอะพิเศษที่ตับ ไต และกระเพาะ .

ในขณะที่นักวิจัยเพิ่งรู้จักผลกระทบของพลาสติกขนาดจิ๋วมันก็ล่องลอยอยู่เต็มไปหมดแล้ว ก่อนที่แพทย์จะหาทางออกได้เรามาดูแลตัวเองกันดีกว่า เลี่ยงการเพิ่มมลภาวะพลาสติกนี้ให้คนอื่น ช่วยกันบอกชวนกันเตือนคนรอบข้างว่าเราต้องหันมาจริงจังกับปัญหานี้ให้มากขึ้นแล้วค่ะ .

Refill Station จะพยายามนำเสนอข่าวสารที่มีประโยชน์และทางออกให้เราเลี่ยงการสร้างพลาสติกได้ในชีวิตประจำกัน ยังไงมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับพวกเรา ช่วยกันไลค์ช่วยกันแชร์ด้วยนะคะ 💧"Only you just a drop, together the ocean" 🌊#LittleThingsMakeGreatChange #RefillStation #RefillStationBKK #zerowaste #nanoplastic #noplastic


ส่วนใครอยากอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมไปดูเปเปอร์ฉบับเต็มกันต่อได้ที่ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6586940/ https://www.firstpost.com/.../micro-plastics-are-entering...

บทความว่าเรากินพลาสติกกันไปมากแค่ไหน? https://www.refillstationbkk.com/blog/2019/6/15

ยิ่งเล็ก ยิ่งร้าย อันตรายยิ่งมาก เคยสามารถย่อยไมโครพลาสติกให้เล็กลงถึงระดับนาโน

65867768_367794783784777_2754499532086575104_o.png

เราว่าใครเคสนี้มันเหมือนกับเรากำลังถามว่า “ยุงกับเสืออะไรน่ากลัวว่ากัน?” พลาสติกเม็ดเล็กก็เหมือนกับยุงตัวเล็กๆที่ยากต่อการต่อกร ในขณะที่ขวดหรือขยะพลาสติกชิ้นใหญ่อาจจะเหมือนกับเสือที่ยังพอเลี่ยงหรือหาทางตั้งรับได้ .

อาจจะได้ยินกันมามากแล้วเกี่ยวกับไมโครพลาสติกหรือพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ทีนี้พอไมโครพลาสติกย่อยเล็กลงไปอีก เล็กลงไปอีก...เล็กลงอีก...อีก...อีกนิด...อี๊กกก! เอาเป็นว่าโคตรเล็กระดับนาโนเมตร .

เล็กแค่ไหน? ก็คงพอๆกับ PM2.5 ที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (หรือเล็กกว่าปลายผมเราอีก 12-20 เท่า) . นาโนพลาสติกเหล่านี้เอาจริงๆมีการศึกษาน้อยมากๆ อาจจะเกิดจากการแตกตัวของพลาสติกชิ้นใหญ่ๆให้มีขนาดเล็กลง แต่เมื่อปีก่อนนักวิจัยยังพบว่าสัตว์จำพวก “เคย” หน้าตาคล้ายกุ้งตัวเล็กๆนี่จะย่อยเม็ดพลาสติกให้เป็นนาโนพลาสติกขนาดไม่ถึง 1 ไมครอนได้เลย .

เมื่อมันมีขนาดเล็กลงแล้ว สิ่งที่ตามมาคือพื้นผิวที่เพิ่มขึ้นด้วย นักวิจัยประมาณการว่าถ้าถุงพลาสติก 1 ใบสลายกลายเป็นพลาสติกขนาด 40 นาโนเมตร มันจะมีพื้นที่ผิวถึง 2600 ตารางเมตรหรือกินพื้นที่เกือบครึ่งของสนามฟุตบอลด้วยถุงแค่ใบเดียว พื้นผิวที่เพิ่มขึ้นทำกับนาโนพลาสติกจับกับสารเคมีต่างๆมากมายและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป .

งานวิจัยด้านนี้ก็ยังมีน้อยมั๊กๆ มีการทดลองผลกระทบของนาโนพลาสติกใน Daphnia หรือแพลงค์ตอนขนาดเล็กและพบว่านาโนพลาสติกทำให้เจ้าตัวนี้มีขนาดเล็กลงและมีโอกาสรอดชีวิตน้อยลงด้วย และมีผลกระทบแบบเดียวกันในหอยสองฝา ทำให้เราอดนึกถึงข่าวปะการังกินพลาสติกที่ออกมาเมื่อไม่นานนี่ว่า สัตว์ก็ไม่รู้หรอกว่าตัวมันกินอะไรเข้าไป แต่พอกินอิ่มแล้วก็ไม่ได้กินอาหารปกติอีก .

งานวิจัยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตอกย้ำว่าพลาสติกปนเปื้อนอยู่ในระบบนิเวศมากกว่าที่เราคิด และบางทีเวลาอาจจะไม่รอให้เราหานวัตกรรมใหม่ๆได้ทัน บางทีคุณอาจจะต้องเลือก Planet or Plastic?


อ้างอิง

https://www.researchgate.net/.../281514096_Nano-plastics... https://www.bbc.com/thai/international-43408004...

Picture credit : Øystein Paulsen - MAR-ECO

นักวิจัยพบไมโครพลาสติกปนเปื้อนในอากาศที่ภูเขาห่างไกลคน !

57444663_332905020607087_8518306967138074624_o.png

แม้จะมีงานวิจัยออกมาอย่างหลากหลายที่รายงานการปนเปื้อนของพลาสติกในแม่น้ำ มหาสมุทร น้ำประปา เกลือ สัตว์ทะเลหลายชนิด ในอุจจาระของคน แต่นี่เป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ยืนยันว่าไมโครพลาสติกสามารถเดินทางในบรรยากาศได้ งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร Nature Geoscience เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2020 ที่ผ่านมา

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ (Strathclyde) และมหาวิทยาลัยตูลูซ (Toulouse) ค้นพบไมโครพลาสติกในพื้นที่ธรรมชาติอันบริสุทธิ์ของเทือกเขาพิรินี (Pyrenees Mountain) ในประเทศฝรั่งเศส พวกเขาใช้เวลา 5 เดือนในเก็บตัวอย่างและค้นหาไมโครพลาสติกบนภูเขาสูงขึ้นไปราว 4,500 ฟุต .

“เราคิดว่าเราน่าจะเจอพลาสติกบ้าง...แต่เราไม่คิดว่าเราจะเจอมากมายขนาดนี้” สตีฟ อัลลัน หนึ่งในทีมนักวิจัยกล่าว . เขาพบว่าทุกๆตารางเมตรจะมีไมโครพลาสติกประมาณ 365 ชิ้นตกลงมาสะสมในแต่ละวัน ซึ่งเมืองอยู่ห่างออกไปเกือบ 100 กิโลเมตร เป็นไปได้ว่าไมโครพลาสติกเหล่านี้จะปลิวมากับสายลม เพราะถ้ามันปลิวมาได้ไกลขนาดนี้ ตามทฤษฎีแล้วมันก็น่าจะอยู่ในทุกหนทุกแห่ง มันอาจจะล่องลอยไปในบรรยากาศแล้วตกมาราวกับสายฝน .

การศึกษานี้จึงสร้างความตื่นตระหนกว่าเมื่อพลาสติกแตกตัวจากต้นกำเนิดและปลิวไปได้ไกลหลายร้อยกิโลเมตร ปนเปื้อนในบรรยากาศจนอาจเข้าสู่ลมหายใจของเราและของสิ่งมีชีวิตอื่นด้วย .

อัลลันยังบอกอีกว่า“ถ้ามันกลายเป็นปัญหา มันจะเป็นปัญหาที่ใหญ่มาก เพราะผมเชื่อว่าไม่มีสิ่งมีชีวิตไหนในโลกที่มีภูมิต้านทานพลาสติก” .

ปัจจุบันปัญหาพลาสติกทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และยังมีเรื่องผลกระทบอีกมากมายที่เรายังไม่รู้ แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นคือ มนุษย์เรายังสร้างขยะพลาสติกออกสู่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทุกๆวัน มาช่วยกันนะคะ คนละเล็กละน้อยในส่วนที่เราทำได้ มาบอกเรื่องราวให้คนใกล้ตัวได้ตระหนักไปพร้อมกับเรา


อ้างอิง

https://www.nature.com/articles/s41561-019-0335-5

https://www.theguardian.com/.../winds-can-carry...

https://www.npr.org/.../microplastic-found-even-in-the...

น้องนกก็หนีไม่พ้น !!

ปัญหาพลาสติกไม่ได้ส่งกระทบต่อสัตว์ทะเลเท่านั้นนะ แต่ขนาดนกบินได้บนฟ้าก็ไม่ต่างกัน 🐥🐣🐦

113704543_595528677678052_8752375970951309951_o.jpg

นักวิจัยจาก Cardiff University ประเทศเวลล์ ได้ทำการศึกษาขี้นกและก้อนเศษอาหารที่ยอ่ยไม่ได้แล้วนกขย้อนออกมาหรือที่เรียกว่า Pellet ของ ‘นกมุดน้ำ (Dipper)’ #ชื่อนี้จริงๆน้า ซึ่งเป็นนกที่หากินตามลำธาร โดยพวกมันจะดำลงไปจับแมลงใต้น้ำกิน .

จากเก็บตัวอย่างทั้งหมด 166 ตัวอย่าง พบว่าราว 50% มีไมโครพลาสติกปนอยู่! ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเส้นใยพลาสติกที่มาจากเสื้อผ้าและวัสดุต่างๆ พอเอาตัวเลขเหล่านี้มาคำนวณดูก็พบว่า เจ้านกมุดน้ำจะได้รับเศษไมโครพลาสติกราวๆ 200 ชิ้นต่อวัน ยิ่งถ้าตัวอย่างขี้นกและ Pellet นั้น เก็บจากลำธารใกล้เมือง จำนวนไมโครพลาสติกที่พบก็ยิ่งสูง 🏢🏭🏣 .

และไม่ใช่แค่นกตัวเต็มวัยเท่านั้น 🐣ลูกนกตัวน้อยๆ ที่ยังไม่ออกจากรังก็ได้รับไมโครพลาสติกเช่นกัน ซึ่งมาจากอาหารที่แม่นำมาป้อน . ความน่าเศร้าคือ นี่ไม่ใช่การเข้าใจผิดว่าเศษพลาสติกคืออาหาร แต่คือการที่อาหารของมันปนเปื้อนไมโครพลาสติก นั่นก็คือแมลงน้ำที่มันกิน จากงานวิจัยก่อนหน้าพบว่า แมลงน้ำกว่าครึ่งหนึ่งในแม่น้ำทางตอนใต้ของประเทศเวลล์ มีไมโครพลาสติกในร่างกาย ส่วนแมลงน้ำได้ไมโครพลาสติกจากไหน... งานวิจัยอีกชิ้นก็แสดงให้เห็นว่าแพลงก์ตอนก็มีไมโครพลาสติกในร่างกายเช่นกัน นี่คือหลักฐานชัดเจนที่บอกว่า ไมโครพลาสติกส่งต่อทางห่วงโซ่อาหารได้ .

มาถึงตอนนี้ น่าจะแทบไม่มีสัตว์ชนิดไหนแล้วมั้ง ที่หลีกหนีจากภัยพลาสติกพ้น จากตะกอนใต้ก้นมหาสมุทร ถึงอากาศบนยอดเขาสูงอันห่างไกล นักวิทยาศาสตร์ล้วนพบว่ามีไมโครพลาสติกปนเปื้อน .

แน่นอนว่าข่าวนี้อาจจะไม่ใช่ข่าวใหม่ที่เราประหลาดใจกันอีกต่อไป แต่ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะต้องเปลี่ยนพฤติกรรม ก่อนที่โลกของเราจะเกินเยียวยา


มองหาตัวเลือกที่คุณเริ่มต้นได้ง่ายๆกับสินค้าของเราได้ที่นี่ หรือที่ www.lazada.co.th/refill-station

พลาสติกคือกับดัก! นกทะเลแสนซื่อกับกลิ่นพลาสติกอันโอชะ

คำถามยอดฮิตที่ค้างคาใจใครหลายคน เราอาจจะตอบส่งๆว่าก็พลาสติกมันมีมากมายเลยยังไงล่ะ นกมันไม่ฉลาดพอหรอก แต่เอาเข้าจริงพลาสติกนี่คือกับดัก! นอกจากจะเป็นมีเยอะแยะ ลอยน้ำ และไม่ย่อยสลายแล้ว มันยังมีกลิ่นน่ากินอีกด้วย .

"มันจะหาอาหารในท้องทะเลที่กว้างใหญ่ได้อย่างไรกัน?" ก่อนอื่นเราต้องโล๊ะความเชื่อว่านกดมกลิ่นไม่ได้ออกเสียก่อน เพราะจริงๆแล้วนกบางกลุ่มสามารถดมกลิ่นได้และใช้การดมกลิ่นเกือบ 40% ในการหาอาหาร อย่างนกทะเลกลุ่ม Procellariiformes เช่น นกจมูกหลอด นกโต้คลื่น นกอัลบาทรอส (ที่หลายคนอาจจะเห็นรูปเอาพลาสติกมาป้อนลูกน้อย) .

ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ Nevitt และทีมพบว่านกมีความสัมพันธ์กับกลิ่นของสารเคมีที่ชื่อว่า Dimethyl Sulfide เราจะเรียกมันง่ายๆว่า DMS ซึ่งในธรรมชาติเจ้า DMS จะถูกปล่อยออกมาจากแพลงค์ตอนพืชหรือสาหร่ายที่ถูกทำลายเวลามันถูกแพลงค์ตอนสัตว์หรือปลากิน พอกลิ่นนี้ลอยออกไปนกก็จะรู้ว่าตรงนี้มีพวกปลาหรือสัตว์เล็กๆนี่หน่า บินไปกินดีกว่า .

พลาสติกที่ลอยอยู่ในทะเล ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่าดูดซับสารเคมีต่างๆ ก็น่าจะดูดซับ DMS ได้เหมือนกัน ลูกศิษย์ชื่อ Mathew Savoca และทีมก็เลยมาทำการทดลองต่อว่าจริงๆแล้วพลาสติกมีกลิ่น DMS ไหม และมีผลกับนกด้วยรึเปล่า? .

เขาเอาพลาสติก 3 ชนิดที่พบได้ทั่วไปลงไปแช่ในทะเลเป็นเวลา 3 สัปดาห์และเอาขึ้นมาทดสอบ แน่นอนว่าเพียงไม่นานพลาสติกก็ถูกเคลือบไว้ด้วยกลิ่นหอมน่ากินเรียบร้อยแล้ว ประกอบกับการศึกษาปริมาณพลาสติกที่นกต่างๆกินเข้าไปจะเห็นได้ชัดว่านกลุ่มที่ใช้การดมกลิ่นมีการกินพลาสติกเข้าไปมากกว่ากลุ่มนกที่ไม่ใช่การดมกลิ่นถึง 6 เท่า! .

นกไม่ได้โง่ แต่เขาก็ดำรงชีวิตตามธรรมชาติของเขา เราต่างหากที่ทำให้ธรรมชาติปนเปื้อนไปด้วยขยะที่ยากต่อการย่อยสลาย ข้อค้นพบเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรต่างๆตัดสินใจช่วยเหลือสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่น่าวิตกกังวลได้ก่อนชนิดอื่นๆ แล้วในฐานะผู้บริโภค เราจะช่วยนกและสิ่งมีชีวิตอื่นๆได้อย่างไร? .


อ่านเพิ่มเติมได้ที่

http://advances.sciencemag.org/content/2/11/e1600395 https://www.nature.com/articles/376680a0 http://www.pnas.org/content/111/11/4157

42517316_257315834832673_5498755266524479488_o.png

“นกมันไม่รู้หรอว่าเป็นพลาสติก” “ทำไมถึงโง่กินเข้าไป”

โละบ้านทั้งที เอาไปไหนดีนะ?

ไม่รู้ว่าใครจะเป็นเหมือนกันบ้าง จัดบ้านทั้งที จะทิ้งนี้ก็เสียดาย จะเก็บไว้ก็ไม่ได้ใช้ มาส่งต่อของดี และจัดการขยะให้ถูกวิธีกันเถอะ

34718432_190245441539713_8106969024258113536_o.png

เสื้อผ้าเก่าและหนังสือ

เสื้อผ้าเก่าและหนังสือเป็นสิ่งของที่เป็นที่ต้องการและบริจาคได้หลายช่องทางมากๆ ควรทำความสะอาดให้เรียบร้อย บริจาคให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของโครงการ

📦 มูลนิธิกระจกเงา เลขที่ 191 ซอยวิภาวดี62 (แยก4-7) ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กทม.10210 http://www.mirror.or.th/charity.php

📦มูลนิธิบ้านนกขมิ้น เลขที่ 89 ซอยเสรีไทย17 ถนนเสรีไทย แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10240 โทร.02-375-6497, 02-732-5191 ของดียังใช้ได้ ขายได้น่าจะดี ส่งต่อได้ที่ร้านปันกัน เพื่อขายเป็นทุนการศึกษาเด็ก (เครื่องใช้ไฟฟ้าควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ายังใช้งานได้)

📦 ปันกัน สังคมแห่งการแบ่งปัน โดยมูลนิธิยุวพัฒน์ บริจาคสิ่งของที่ ร้านปันกันสาขาใกล้บ้าน หรือส่งไปที่ ร้านปันกัน โดยมูลนิธิยุวพัฒน์ เลขที่ 1 ซ.พรีเมียร์ 2 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 โทร. 02-3011096, 081-903-6639 www.pankansociety.com 👗นอกจากบริจาคแล้วยังไปซื้อและอุดหนุนได้ด้วยนะ

รายละเอียดการบริจาค เสื้อผ้า หนังสือ ของเล่นเด็ก และของใช้ต่างๆ ยังสามารถส่งต่อได้อีกหลายที่ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมแล้วลองดูว่าสมบัติของเราน่าจะเป็นประโยชน์ต่อใครมากที่สุด https://talk.mthai.com/inbox/437282.html

34849762_190245414873049_75880553018032128_o.png

ผ้าขนหนู ผ้าปูที่นอน และผ้าปูโต๊ะเก่า

ผ้าขนหนู ผ้าปูที่นอน ผ้าปูโต๊ะเก่า หรือผ้าผืนต่างๆ สามารถนำไปใช้พันท้องน้องหมาน้องแมวหลังจากทำหมันได้ ส่งต่อได้เลยที่

📦 มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย 167/9 หมู่4 ซอยไม้ขาว10 ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 83110 โทร 076 681 029 / 086 386 4916 ติดตามรายละเอียดอื่นๆได้ที่ Soi Dog Foundation

34864831_190245438206380_4744862955592482816_o.png

ชุดชั้นในเก่า

ชุดชั้นในเก่า ยืดย้วย ตะขอหลุด หากทิ้งไปก็ใช้เวลาย่อยสลายเป็นร้อยปี แต่หากมีการจัดการอย่างถูกต้องโครงเหล็กและตะขอสามารถนำไปหลอมรวมได้ ผ้ายืดก้นำไปเผาเป็นพลังงานได้ หรือลูกไม้กุ๊กกิ๊กน่ารักยังเอาไปทำงานฝีมือได้อีก

📦 เก่าหรือบราเสื่อมสภาพที่ไม่ใช้แล้วทุกแบรนด์ มาบริจาคได้ที่ วาโก้ช็อปและเคาน์เตอร์วาโก้ทุกสาขาทั่วประเทศ

📦 ส่งทางไปรษณีย์มายังฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) 132 ซ.เจริญราษฎร์ 7 แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ 10120 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-296-9979

34731829_190245484873042_5068114752773816320_o.png

ชุดชั้นในสภาพดี

ชุดชั้นในสภาพดีที่ยังใช้ต่อได้ สามารถบริจาคให้กับทัณฑสถานหญิงได้หลายจังหวัด เนื่องจากชุดชั้นในจัดเป็นสินค้าราคาแพงที่บางครั้งก็ยากต่อการซื้อหาของใครอีกหลายๆคน ชุดชั้นในควรเป็นของใหม่หรือว่าของที่ยังใช้ได้ทำความสะอาดอย่างดี กางเกงในควรเป็นของใหม่เท่านั้น ❗วงเล็บว่าชุดชั้นในด้วยนะ ไม่งั้นอาจจะถูกตีกลับได้ ควรโทรสอบถามก่อนส่งค่า❗

📦ทัณฑสถานหญิงชลบุรี 135/5 ถนน พระยาสัจจา ตำบล บ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี ชลบุรี 20000 โทร. 0-3828-2002

📦ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก 801 ม.8 ถ.พิษณุโลก-หล่มสัก ต.วังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก 65130 โทร. 055-312801

📦 ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ 142 ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทร. 053-122340

34841069_190245494873041_4847148598179135488_o.png

ขยะอันตรายและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ

ขยะอันตรายอย่างแบตเตอรี่มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมือถือเก่า คอมพิวเตอร์เก่า สายชาร์จโทรศัพท์ที่พังแล้วพังอีก บางคนเก็บไว้จนพันกันไปหมด ควรรวบรวมเพื่อกำจัดอย่างถูกต้อง ไม่ให้ปะปนกับขยะอื่นๆ หรือเป็นพิษในธรรมชาติ วิธีการจัดการคัดแยกแร่สำคัญกลับมาใช้ซ้ำได้อีก โดยไม่ต้องขุดโลกทำเหมืองแร่

📦ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย HSM ชั้น 8 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร 022183959 ค่ะ และอีกช่องทางคือ www.facebook.com/ChulaLovestheEarth/ ถ้าอุปกรณ์ชิ้นไหนไม่แน่ใจ โทรสอบถามก่อนได้เลย! พี่ๆใจดีมาก

34729455_190245518206372_8567007575537614848_o.png

มือถือเก่า

มือถือเก่า มีแร่มีค่าถ้าทิ้งถูกวิธีกับ โครงการ มือถือเก่าไป ชีวิตใหม่มา แร่มีค่าจะถูกตัดแยกนำมารีไซเคิล รายได้จะนำไปจัดหาหนังสือสำหรับเด็กและสื่อเพื่อการศึกษาอื่นๆ

📦 ศูนย์โครงการมือถือเก่าไป ชีวิตใหม่มา 333 ถ.สุขุมวิท 71 แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กทม 10110 https://www.facebook.com/recycleandreduce/

📦ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย HSM ชั้น 8 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร 022183959 ค่ะ และอีกช่องทางคือ www.facebook.com/ChulaLovestheEarth/

34631363_190245531539704_4608375174167789568_o.png

หลอดไฟ

หลอดไฟขยะอันตรายที่น้อยครั้งจะได้เปลี่ยนสักที ทำให้เรามองข้ามการจัดการ และอาจจะเป็นอันตรายต่อพี่คนเก็บขยะอีกด้วย หากเราไม่ทิ้งแยกให้ชัดเจนข้างถังขยะ ก็สามารถนำไปส่งเองได้ที่

🚗IKEA ทุกสาขา

34847130_190245564873034_8422561095159382016_o.png

สิ่งของที่ทำมาจากอลูมิเนียม

ลูกแม็ค ห่วงอลูมิเนียม ฝาเครื่องดื่มเกลียว กระป๋องน้ำอัดลม ฝาน้ำเปล่าขวกแก้ว หรือสิ่งของที่ทำมาจากอลูมิเนียมเพื่อนำไปรีไซเคิลทำอุปกรณ์ค้ำยันสำหรับคนพิการ

📦สมาคมคนพิการทางเคลื่อนไหวสากล เลขที่ 802/410 หมู่ที่ 12 ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12130 โทร : 0-2990-0331 หรือ 08-1735-2316 นอกจากนี้สมาคมยังรับบริจาคแผ่น CD เก่า อุปกรณ์อิเล็กโทรนิค และสิ่งของช่วยเหลือคนพิการอื่นๆ เข้าไปดูรายละเอียดกันได้ที่ http://www.apdi2002.com/

34628311_190245578206366_5945979722746822656_o.png

กล่องนมและน้ำผลไม้

กล่องนม กล่องน้ำผลไม้ มีทั้งพลาสติก ฟรอย์ และเยื้อกระดาษ ปกติถ้าขายซาเล้งมักจะไม่รับเพราะมีกระบวนการจัดการที่ยุ่งยาก แต่ว่ามันเอาไปทำหลังคาได้อย่างมหัศจรรย์ ทั้งน้ำหนักเบา ขนส่งง่าย และเหนียวทนทาน ถ้าจะบริจาควรตัดกล่องเปิดออก ล้างให้สะอาดและตากให้แห้ง ส่งไปได้ที่ โครงการหลังคาเขียว greenroof

📦 ศูนย์รีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม บริษัท ไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด 30/11 หมู่ 11 ถนนบางนา-ตราด กม.23 ตำบลบางเสาธง อำเภอเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ โทรศัพท์ : 02-397-9456-5

📦หรือ กล่องรับบริจาคกล่องนมตามสถานที่ต่างๆเช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย บิ๊กซี โลตัส ถ้าหาไม่เจอลองถามเจ้าหน้าที่ดูได้นะคะ สำหรับหน่วยงานไหนที่สนใจอยากช่วยเหลือโดยตั้งก็รับบริจาคก็ติดต่อได้เลย https://www.tetrapak.com/th/thaigreenroof/

34776545_190245594873031_2386715379381567488_o.png

ยาเก่า

หายป่วยแล้วยังเหลือยาเยอะ เปลี่ยนยาตัวใหม่ ปรับโดสใหม่ แต่ยาเก่าอย่าเพิ่งทิ้ง ยาเก่าที่ยังไม่หมดอายุ ควรมีอายุเหลืออย่างน้อย 6 เดือน อยู่ในหีบห่อที่ยังปิดมิดชิด สามารถส่งต่อไปช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้หรือคนไร้สัญชาติให้มีสิทธิเข้าถึงการดูแลรักษาที่

📦โรงพยาบาลอุ้มผาง 159 ม.1 ต.อุ้มผาง อ.อุ้มผาง จ.ตาก 63170 ❗ ควรวงเล็บไว้ด้วยว่ายาบริจาค เพื่อง่ายต่องานพัสดุ

หรือจะบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือได้ 2 ช่องทาง 1.ชื่อบัญชี เงินบำรุง รพ.อุ้มผาง (เงินบริจาคเพื่อซื้อยาและเวชภัณฑ์)ธนาคารออมสิน สาขาอุ้มผาง เลขที่บัญชี 020133388387 (ใบเสร็จรับเงินสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้) 2.ชื่อบัญชี "กองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ รพ.อุ้มผาง" ธนาคารออมสิน สาขาอุ้มผาง เลขที่บัญชี 020051018644 (มีใบตอบรับเงินบริจาค ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้)

34796522_190245654873025_2540348756151238656_o.png

ถุงผ้า

ถุงผ้ารับแจกฟรีมาจนล้น ใช้ให้ดีอย่าทิ้ง บริจาคสำหรับใช้ใส่ยาให้ผู้ป่วยแทนการใช้ถุงพลาสติก เริ่มมีการเปิดรับหลายโรงพยาบาลแล้ว นอกจากข้อมูลตามลิสนี้อาจจะช่วยแชร์ข้อมูลเพิ่มเติมหรือสอบถามได้ตามโรงพยาบาลใกล้บ้าน

📦 โรงพยาบาลวัดโบสถ์ 135 ม.1 ฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลวัดโบสถ์ ต.วัดโบสถ์ อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก 65160 โทร. 055-361079 ต่อ 118 หรือ 081-9534535

📦ห้องยาโรงพยาบาลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จ.พิษณุโลก 65150

หรือสอบถามหน่วยงานใกล้บ้านก็ได้ค่ะ

สำหรับขวดน้ำยาเก่าที่หมดแล้ว อย่าลืมแวะมาเติมน้ำยากับ Refill Station นะ 🙂 #reuse #recycle #refill

34774730_190245621539695_3849205289026846720_o.png

ซิลิโคนติดกลิ่นทำยังไงดี?

ซิลิโคนดียังไง?

1550854651467.png

หลายคนชอบเข้าใจผิดว่าซิลิโคนเป็นยาง แม้จะดูคล้ายกันแต่จริงๆแตกต่างกันมากทีเดียว ยางจะทนร้อนไม่ค่อยได้แต่ทนแรงยืดหยุ่นได้สูงกว่า ส่วนซิลิโคนมีชื่อวิทยาศาสตร์ยากๆว่า polydimethylsiloxane (PDMS) หรือมีแกนหลักเป็นซิลิก้า (ทราย) นั้นเองจึงเป็นที่มาของชื่อซิลิโคน ตัวซิลิโคนนี้ทนร้อนได้ดีมั๊กๆ ตั้งแต่ -100 องศา ถึง 300 องศาเซลเซียสเลยก็มี ถึงมีการเอามาใช้เป็นแม่พิมพ์ขนมปัง ตะหลิว และอื่นๆ ได้อย่างสบายใจหายห่วง แต่บางทีสินค้าของเราจะบอกว่าทำได้ถึง 120 องศาเท่านั้น เพราะว่ามีส่วนประกอบของพลาสติกด้วยเดียวจะละลายเอา

ด้วยคุณสมบัติทนร้อนมากๆ แต่ไม่ค่อยยืดหยุ่นเท่าไหร่ ทำให้ซิลิโคนไม่ใช้ในพวกเครื่องจักรเหมือนกับยาง

ซิลิโคนสามารถย่อยสลายได้ด้วยสภาพแวดล้อม (Weathering degradable) ไม่ได้ย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ (biodegradable) ทำให้ไม่ค่อยมีเชื้อโรคหรือขึ้นรา พอเวลาย่อยสลายก็กลายเป็นแก้วหรือทรายไม่กลายเป็นไมโครพลาสติกนะจ๊ะ นั้นคือเหตุผลที่สินค้าหลายอย่างของ Refill Station ทำมาจากซิลิโคน

 

ซิลิโคนมีกลิ่นอันตรายไหม?

              จริงๆแล้วซิลิโคนเป็นวัสดุที่เฉือยที่ไม่ทำปฎิกิริยากับเคมีอื่นๆ ทำให้ปลอดภัยต่อการใช้งานมากๆ แต่ที่ต้องมี Food Grade Silicone ก็เพื่อให้แน่ใจว่าสีหรือส่วนผสมอื่นที่ใส่ลงไปให้ซิลิโคนคงรูปก็ปลอดภัยเช่นกัน

              บางคนใช้ซิลิโคนไปแล้วแต่มันติดสี ติดกลิ่น จะใช้ต่อดีไหม?  ต้องอธิบายว่าเวลาซิลิโคนอุณหภูมิสูงขึ้นโมเลกุลจะขยายนิดหน่อย แล้วสีหรือกลิ่นจากอาหารก็เข้าไปแทรกในโมเลกุลเหล่านี้ทำให้ล้างยาก ซิลิโคนจริงๆก็ล้างด้วยน้ำยาล้างจานปกติได้เลย แต่ถ้าทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นก็จะล้างออกได้อย่างง่ายดายกว่า

 

ซิลิโคนติดกลิ่นทำยังไงดี?

              มีหลายวิธีในการทำความสะอาดซิลิโคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

·       ล้างด้วยน้ำอุ่นผสมเบกกิ้งโซดาและน้ำยาล้างจานเจือจาง: น้ำอุ่นจะทำให้โมเลกุลของซิลิโคนขยายตัว ส่วนเบกกิ้งโซดาจะช่วยดูดสีและกลิ่นออกมา ในขณะที่น้ำยาล้างจานจะช่วยทำความสะอาด

·       ล้างด้วยน้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชู: เอามะนาว 1 ซีกบีบลงในน้ำทั้งเปลือกแล้วเขย่าทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีจะช่วยลดกลิ่นได้ แต่อาจจะยังติดสีนะในบางกรณี

·       เข้าไมโครเวฟ: แค่ใส่น้ำลงไปเล็กน้อย สำหรับคนไม่มีเวลาก็เข้าไมโครเวฟเพิ่มอุณหภูมิก็ง่ายดี แล้วนำออกมาล้างอีกทีจะช่วยขจัดสีและกลิ่นได้ดีเยี่ยม

อย่าลืมทิ้งไว้ให้แห้งก่อนการใช้งานนะ

พวกเรากินพลาสติกอยู่ทุกวัน?

64242837_358921658005423_7998006163520094208_n.jpg

😱😱 OMG! คนเรากินไมโครพลาสติกเข้าไปปีละ 50,000 ชิ้น ถ้าหายใจเข้าไปอีกก็กว่า 100,000 ชิ้น เฉลี่ยสัปดาห์ละ 20,000 ชิ้นหรือบัตรเครดิต 1ใบ 😱😱

.

งานวิจัยในอเมริกาศึกษาตัวอย่างอาหารกว่า 3,600 ตัวอย่าง ทั้งน้ำดื่ม ปลา น้ำตาล เกลือ น้ำผึ้ง เบียร์ และอากาศในเมือง!

.

นักวิจัยประเมินว่าคนโดยทั่วไปมีการบริโภคไมโครพลาสติกที่เจือปนมากกับอาหารสูงถึง 🥣 39,000 – 52,000 ชิ้นในแต่ละปีขึ้นอยู่กับอาหารที่บริโภคและช่วงอายุด้วย

ถ้ารวมการหายใจเส้นใยพลาสติกที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าไปด้วย เราอาจได้รับไมโครพลาสติกสูงถึง 🥣 74,000 – 121,000 ชิ้น

.

ที่น่าสนใจกว่านั้นคือน้ำดื่มบรรจุขวดที่เราคิดว่าสะอาด จริงๆแล้วมีพลาสติกเล็กๆ ปนเปื้อนจากกระบวนการผลิตขวดพลาสติกเยอะมากๆ คนที่กินน้ำจากขวดมีโอกาสจะกินไมโครพลาสติมากกว่าการดื่มน้ำจากก๊อกหรือเครื่องกรองน้ำถึง 22 เท่าเลยนะ คนที่กินน้ำขวดตลอดอาจจะได้รับไมโครพลาสติกสูงถึง 130,000 ชิ้น นี่ขนาดยังไม่นับการกินอาหารอย่างอื่นอีกนะ....แค่กินพลาสติกก็อิ่มพอดี

.

ส่วนที่ออสเตเรียก็มีงานวิจัยออกมาไล่เลี่ยกัน เขาประเมินปริมาณพลาสติกที่คนกินเข้าไปจากข้อมูลงานวิจัยประมาณ 50 รายงานที่มีอยู่ แล้วพบว่าคนน่าจะกินพลาสติกเข้าไปคนละ 2,000 ชิ้นต่อสัปดาห์หรือประมาณ 5 กรัม ซึ่งเทียบเท่ากับน้ำหนักบัตรเครดิตประมาณ 1 ใบ งานนี้ดูแค่พลาสติกเล็กกว่า 1 มิลลิเมตรที่เจอได้เยอะที่สุด และพบว่าคนได้รับพลาสติกจากน้ำดื่มมากที่สุด! และน้ำดื่มทั่วโลกปนเปื้อนไปด้วยพลาสติก รองลงมาเป็นเบียร์และเกลือ

.

“เรายังไม่มีการศึกษาดีพอถึงผลกระทบจากพลาสติก แต่จากจำนวนมากมายเหล่านี้เชื่อว่าต้องมีผลกระทบแน่นอน” Kieran Cox หัวหน้าทีมนักวิจัยกล่าว

.

แล้วฉันเลือกอะไรได้ไหม? หรือว่าต้องอดตายเลยรึเปล่า?

ถึงตอนนี้เราคงทำอะไรได้ไม่มาก (ยังไม่คิดถึงตัวเลขการบริโภคของคนไทยที่ติดอันดับ 6 ของประเทศที่ปล่อยพลาสติกมากที่สุดในโลก จะเยอะกว่านี้สักแค่ไหนกัน T^T) เรามีข้อแนะนำง่ายๆ เช่น

🥗 หลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำขวดแล้วมาพกขวดน้ำเองดีกว่านะ

🥗 หลีกเลี่ยงการอุ่นอาหารจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่ได้ microwave safe หรือถุงร้อน ควรเทใส่จานให้ดีก่อนอุ่นเพื่อไม่ให้พลาสติกโดนความร้อนโดยตรง

🥗 ซื้อเสื้อผ้าฝ้ายหรือธรรมชาติ (เรื่องหายใจนี่ยังมีเรื่องผ้าใยสังเคราะห์ที่ไว้จะมาเล่าให้ฟังอีกที)

ตอนนี้ที่สำคัญคือไม่เพิ่มปริมาณพลาสติกลงในระบบนิเวศอีกแล้ว Please! Please! Please!

อ้างอิง

https://pubs.acs.org/doi/abs/10.1021/acs.est.9b01517

https://www.theguardian.com/environment/2019/jun/05/people-eat-at-least-50000-plastic-particles-a-year-study-finds

https://www.intelligentliving.co/eat-drink-inhale-microplastics/

Picture credit : Studio Plantarium <3

เคล็ดไม่ลับ การแยกขยะในคาเฟ่ Better Moon x Refill Station

post-01.png

อยากแยกขยะในบ้านทำไงดี?

ต้องมีถังสัก 4 สีเรียงกันรึเปล่า?

รีไซเคิลมีหลายแบบต้องแยกอีกไหมเนี่ย?

อาจจะไม่ต้องขนาดนั้นก็ได้ค่ะคุ๊ณณณ

.

วันนี้รีฟิลอยากแชร์เคล็ดไม่ลับสำหรับการแยกขยะในร้าน Better Moon x Refill Station ที่เราลองทำกัน

ต้องขอบอกเลยว่าจะให้ถ่ายรูปถังขยะมาอวดก็ออกจะอายๆอยู่สักหน่อย แต่คิดว่าก็น่าจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้างไม่มากก็น้อย...ส่วนจะยากง่ายแค่ไหนตามไปดูกัน!

post_Artboard 2.png

ขยะเกิดตรงไหน แยกตรงนั้น

เราไม่จำเป็นต้องมีถังขยะเรียงกันก็ได้ แต่ก่อนอื่นต้องสำรวจก่อนว่าแต่ละจุดมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง? อย่างในครัวก็มักจะมีขยะเศษอาหารหรือหีบห่อต่างๆ ที่ไม่ควรปนกัน เราเลยมีแค่ 2 ถังง่ายๆ แยกขยะเปียกกับขยะแห้ง

แค่นี้ขยะแห้งส่วนใหญ่ก็หาทางไปรีไซเคิลต่อได้แล้ว

post-03.png

แต่ละวันมีลูกค้าเข้ามามากมาย หลายคนเลือกที่จะรับบิลแต่บางคนก็ไม่รับ เราเลยมีถุงกระดาษเล็กๆห้อยไว้แยกกระดาษใบเสร็จรับเงินมาทำกระดาษโน๊ต ส่วนขยะอื่นๆก็มีถังใบเล็กสำหรับขยะทั่วไป

ด้านหลังร้านมีถังหลายใบหน่อย คาดเดาไว้ว่าลูกค้าจะถืออะไรเข้ามาในร้านบ้าง ขวดน้ำ ขวดแชมพูที่เอามาเติม ขวดแก้วสำหรับเครื่องดืม ติดป้ายไว้สักนิดให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการคัดแยก

ถ้ามาดูนอกร้าน เราจะมีถังดำเอาไว้ทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารของเราเองแล้วเอาไว้ใช้กับเพื่อนๆต้นไม้ที่อยู่รอบๆนี่แหละ

ถ้ามาดูนอกร้าน เราจะมีถังดำเอาไว้ทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารของเราเอง

แล้วเอาไว้ใช้กับเพื่อนๆต้นไม้ที่อยู่รอบๆนี่แหละ

เจ้าถังปุ๋ยหมักก็อย่าใช้สีฟ้าให้สะดุดตา สีดำวางรวมๆอยู่ท่ามกลางกระถางต้นไม้อย่างเนียนๆ

เจ้าถังปุ๋ยหมักก็อย่าใช้สีฟ้าให้สะดุดตา สีดำวางรวมๆอยู่ท่ามกลางกระถางต้นไม้อย่างเนียนๆ

จุดนี้โครงการ Precious Plastic มาขอรับบริจาคฝาขวดน้ำเพื่อนำไปทำเป็นวัสดุหรืองานศิลปะอื่นๆ

ขยะเหล่านี้เมื่อแยกออกมาแล้วก็จะกลายเป็นทรัพยากรที่มีค่านำไปใช้ประโยชน์ต่อไป เพราะทุกวันนี้ธุรกิจหลายรูปแบบก็หันมาสนใจเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือ Circular Economy กันมากขึ้น เพราะทรัพยากรในโลกของเรามีอยู่อย่างจำกัด

ที่สำคัญไม่แพ้การแยกขยะคือการสร้างส่งเสริมให้ทุกคนลดการสร้างขยะจ้าเรามีจานชามให้ลูกค้าไปใส่อาหารนอกร้านเข้ามาได้ แต่ๆไม่ใช่ให้เอาถุงมาแกะทานกันในร้านนะ เรามีข้อแม้ว่ายอมกันขนาดนี้แล้ว เลยห้ามเอาถุงพลาสติกและกล่องโฟมเข้ามาเด็ดขาด

ที่สำคัญไม่แพ้การแยกขยะคือการสร้างส่งเสริมให้ทุกคนลดการสร้างขยะจ้า

เรามีจานชามให้ลูกค้าไปใส่อาหารนอกร้านเข้ามาได้ แต่ๆไม่ใช่ให้เอาถุงมาแกะทานกันในร้านนะ เรามีข้อแม้ว่ายอมกันขนาดนี้แล้ว เลยห้ามเอาถุงพลาสติกและกล่องโฟมเข้ามาเด็ดขาด

ทานอาหารเสร็จแล้วก็ต้องล้างจานด้วยตัวเอง ส่วนเศษอาหารที่เหลือก็มีถังเล็กไว้ให้แยกเศษอาหารด้วย การเตรียมถังอำนวยความสะดวกไว้ให้เขา จะช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนใช้งานด้วย

ทานอาหารเสร็จแล้วก็ต้องล้างจานด้วยตัวเอง ส่วนเศษอาหารที่เหลือก็มีถังเล็กไว้ให้แยกเศษอาหารด้วย การเตรียมถังอำนวยความสะดวกไว้ให้เขา จะช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนใช้งานด้วย

post-10.png
post_Artboard 11.png
post-12.png
post-13.png

อย่ามาถึงตรงนี้แล้ว บางคนคิดในใจ “จะทำได้ไหมเนี่ย”

ต้องบอกว่านี่เป็นผลงานที่เกิดจากการลองผิดลองถูกของพวกเรามาเป็นเวลาร่วม 1 ปี

เพื่อนๆไม่จำเป็นต้องแยกทุกอย่างให้ได้ในวันเดียวหรอกค่ะ ลองสำรวจลองพัฒนาไปเรื่อยๆ ก็สนุกดีออก

เราเชื่อว่าทุกการกระทำเล็กๆ เปลี่ยนแปลงโลกได้

 

ดาวเคราะห์พลาสติกกับการเดินทางของเชื้อโรค

นอกจากไมโครพลาสติกจะเป็นขยะที่ยากต่อการจัดการแล้ว ยังสามารถวนเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารได้อีกด้วย และเรื่องนี้จะพาไปทำความรู้จักกับระบบนิเวศของจุลินทรีย์บนเม็ดพลาสติกที่อาจจะเดินทางไปทั่วโลกได้และอาจจะก่อให้เกิดโรคระบาดในพื้นที่ใหม่ๆอีกด้วย

พลาสติกย่อยสลายได้ ตายแล้วไปไหน?

หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมรัฐบาลต้องแบนพลาสติกย่อยสลายได้อย่าง oxo-biodegradable plastic ทั้งที่จริงๆแล้วก็ฟังดูดีนี่หน่า 
.

แต่จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเราทิ้งมันไป...ตามไปดูกัน

พลาสติก…ตายแล้วไปไหน?

คนไทยใช้ถุงพลาสติก 123 ล้านใบต่อวัน กว่า 4.5 หมื่นล้านใบต่อปี นี่ยังไม่รวมถึงขวดน้ำ และขยะพลาสติกของบรรจุภัณฑ์ต่างๆ 
.
"พลาสติกตายแล้วไปไหน?"
.
ตามไปดูเส้นทางและพิธีกรรมการตายของพลาสติกว่าหลังจากหลุดจากมือเราไปแล้วมันไปอยู่ที่ไหนบ้าง?

วาฬตายแล้วเราสูญเสียอะไรบ้าง?

หลายคนอาจจะสลดใจกับการตายของวาฬสเปิร์มที่เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย แม้ว่าสาเหตุการตายยังไม่แน่ชัดแต่เราก็ปฎิเสธไม่ได้ว่ามีขยะถึง 6 กิโลกกรัมในท้องของมัน มีแก้วพลาสติกถึง 115 แก้ว ถุงพลาสติกอีก 25 ใบ ขวดพลาสติก 4 ขวด รองเท้า 4 ข้างและพลาสติกอีกจำนวนมาก มีแม้กระทั่งจานหักๆและเศษขยะอื่นๆ