พลาสติกคือกับดัก! นกทะเลแสนซื่อกับกลิ่นพลาสติกอันโอชะ

คำถามยอดฮิตที่ค้างคาใจใครหลายคน เราอาจจะตอบส่งๆว่าก็พลาสติกมันมีมากมายเลยยังไงล่ะ นกมันไม่ฉลาดพอหรอก แต่เอาเข้าจริงพลาสติกนี่คือกับดัก! นอกจากจะเป็นมีเยอะแยะ ลอยน้ำ และไม่ย่อยสลายแล้ว มันยังมีกลิ่นน่ากินอีกด้วย .

"มันจะหาอาหารในท้องทะเลที่กว้างใหญ่ได้อย่างไรกัน?" ก่อนอื่นเราต้องโล๊ะความเชื่อว่านกดมกลิ่นไม่ได้ออกเสียก่อน เพราะจริงๆแล้วนกบางกลุ่มสามารถดมกลิ่นได้และใช้การดมกลิ่นเกือบ 40% ในการหาอาหาร อย่างนกทะเลกลุ่ม Procellariiformes เช่น นกจมูกหลอด นกโต้คลื่น นกอัลบาทรอส (ที่หลายคนอาจจะเห็นรูปเอาพลาสติกมาป้อนลูกน้อย) .

ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ Nevitt และทีมพบว่านกมีความสัมพันธ์กับกลิ่นของสารเคมีที่ชื่อว่า Dimethyl Sulfide เราจะเรียกมันง่ายๆว่า DMS ซึ่งในธรรมชาติเจ้า DMS จะถูกปล่อยออกมาจากแพลงค์ตอนพืชหรือสาหร่ายที่ถูกทำลายเวลามันถูกแพลงค์ตอนสัตว์หรือปลากิน พอกลิ่นนี้ลอยออกไปนกก็จะรู้ว่าตรงนี้มีพวกปลาหรือสัตว์เล็กๆนี่หน่า บินไปกินดีกว่า .

พลาสติกที่ลอยอยู่ในทะเล ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่าดูดซับสารเคมีต่างๆ ก็น่าจะดูดซับ DMS ได้เหมือนกัน ลูกศิษย์ชื่อ Mathew Savoca และทีมก็เลยมาทำการทดลองต่อว่าจริงๆแล้วพลาสติกมีกลิ่น DMS ไหม และมีผลกับนกด้วยรึเปล่า? .

เขาเอาพลาสติก 3 ชนิดที่พบได้ทั่วไปลงไปแช่ในทะเลเป็นเวลา 3 สัปดาห์และเอาขึ้นมาทดสอบ แน่นอนว่าเพียงไม่นานพลาสติกก็ถูกเคลือบไว้ด้วยกลิ่นหอมน่ากินเรียบร้อยแล้ว ประกอบกับการศึกษาปริมาณพลาสติกที่นกต่างๆกินเข้าไปจะเห็นได้ชัดว่านกลุ่มที่ใช้การดมกลิ่นมีการกินพลาสติกเข้าไปมากกว่ากลุ่มนกที่ไม่ใช่การดมกลิ่นถึง 6 เท่า! .

นกไม่ได้โง่ แต่เขาก็ดำรงชีวิตตามธรรมชาติของเขา เราต่างหากที่ทำให้ธรรมชาติปนเปื้อนไปด้วยขยะที่ยากต่อการย่อยสลาย ข้อค้นพบเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรต่างๆตัดสินใจช่วยเหลือสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่น่าวิตกกังวลได้ก่อนชนิดอื่นๆ แล้วในฐานะผู้บริโภค เราจะช่วยนกและสิ่งมีชีวิตอื่นๆได้อย่างไร? .


อ่านเพิ่มเติมได้ที่

http://advances.sciencemag.org/content/2/11/e1600395 https://www.nature.com/articles/376680a0 http://www.pnas.org/content/111/11/4157

42517316_257315834832673_5498755266524479488_o.png

“นกมันไม่รู้หรอว่าเป็นพลาสติก” “ทำไมถึงโง่กินเข้าไป”