ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ (Strathclyde) และมหาวิทยาลัยตูลูซ (Toulouse) ค้นพบไมโครพลาสติกในพื้นที่ธรรมชาติอันบริสุทธิ์ของเทือกเขาพิรินี (Pyrenees Mountain) ในประเทศฝรั่งเศส พวกเขาใช้เวลา 5 เดือนในเก็บตัวอย่างและค้นหาไมโครพลาสติกบนภูเขาสูงขึ้นไปราว 4,500 ฟุต .
“เราคิดว่าเราน่าจะเจอพลาสติกบ้าง...แต่เราไม่คิดว่าเราจะเจอมากมายขนาดนี้” สตีฟ อัลลัน หนึ่งในทีมนักวิจัยกล่าว . เขาพบว่าทุกๆตารางเมตรจะมีไมโครพลาสติกประมาณ 365 ชิ้นตกลงมาสะสมในแต่ละวัน ซึ่งเมืองอยู่ห่างออกไปเกือบ 100 กิโลเมตร เป็นไปได้ว่าไมโครพลาสติกเหล่านี้จะปลิวมากับสายลม เพราะถ้ามันปลิวมาได้ไกลขนาดนี้ ตามทฤษฎีแล้วมันก็น่าจะอยู่ในทุกหนทุกแห่ง มันอาจจะล่องลอยไปในบรรยากาศแล้วตกมาราวกับสายฝน .
การศึกษานี้จึงสร้างความตื่นตระหนกว่าเมื่อพลาสติกแตกตัวจากต้นกำเนิดและปลิวไปได้ไกลหลายร้อยกิโลเมตร ปนเปื้อนในบรรยากาศจนอาจเข้าสู่ลมหายใจของเราและของสิ่งมีชีวิตอื่นด้วย .
อัลลันยังบอกอีกว่า“ถ้ามันกลายเป็นปัญหา มันจะเป็นปัญหาที่ใหญ่มาก เพราะผมเชื่อว่าไม่มีสิ่งมีชีวิตไหนในโลกที่มีภูมิต้านทานพลาสติก” .
ปัจจุบันปัญหาพลาสติกทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และยังมีเรื่องผลกระทบอีกมากมายที่เรายังไม่รู้ แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นคือ มนุษย์เรายังสร้างขยะพลาสติกออกสู่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทุกๆวัน มาช่วยกันนะคะ คนละเล็กละน้อยในส่วนที่เราทำได้ มาบอกเรื่องราวให้คนใกล้ตัวได้ตระหนักไปพร้อมกับเรา
อ้างอิง
https://www.nature.com/articles/s41561-019-0335-5
https://www.theguardian.com/.../winds-can-carry...
https://www.npr.org/.../microplastic-found-even-in-the...