#FaceTheClimateEmergency
พวกคุณต้องหยุดแสร้งทำเป็นว่าเราสามารถแก้วิกฤตสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศได้ โดยการไม่นับว่ามันเป็นวิกฤต
นี่คือข้อเรียกร้องของพวกเราในจดหมายฉบับนี้:
ก้าวแรกที่เราจำเป็นต้องเปลี่ยน เพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตทางภูมิอากาศและระบบนิเวศ
• หยุดการลงทุนเพื่อค้นหาและขุดเจาะเชื้อเพลิงฟอสซิลในทันที รวมถึงหยุดการอุดหนุนเม็ดเงินให้กับการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล และต้องหยุดใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งหมดด้วย
• สนับสนุนให้ระบุว่าการทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นอาชญากรรมระหว่างประเทศ
• รวบรวมข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป้าหมายของการปล่อยก๊าซฯ ทั้งหมด รวมถึงดัชนีชี้วัดการบริโภค การบิน และการขนส่ง
• จัดทำรายงานงบประมาณคาร์บอนประจำปี (carbon budgets) ต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้! โดยอ้างอิงหลักทางวิทยาศาสตร์และรายงานของ IPCC ว่าเรามีโอกาส 66% ในการป้องกันไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นอีก 1.5 องศาเซลเซียส สิ่งเหล่านี้ควรรวมเข้ากับเรื่องดุลภาพ (global aspect of equity) จุดวิกฤต (Tipping point) และวงจรสะท้อนกลับ (feedback loops) ของโลกด้วย (เช่น เมื่อโลกยิ่งร้อนขึ้น แผ่นน้ำแข็งจะยิ่งละลายเร็วขึ้น และเมื่อแผ่นน้ำแข็งที่ทำหน้าที่สะท้อนแดดเหลือน้อยลง โลกก็ยิ่งร้อนขึ้นด้วย) เราไม่สามารถเชื่อว่าเราสามารถพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ในอนาคตเพียงอย่างเดียว
• มุ่งปกป้องหลักประชาธิปไตย
• ออกแบบนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศที่ ปกป้องกลุ่มแรงงานและกลุ่มเปราะบาง และลดความเหลื่อมล้ำในทุกรูปแบบ ได้แก่ เศรษฐกิจ ชาติพันธุ์ และเพศ
• เปลี่ยนมุมมองและยอมรับว่าวิกฤตสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศเป็นเรื่องเร่งด่วน
เราเข้าใจดีว่าโลกใบนี้ซับซ้อนและรู้ดีว่าข้อเรียกร้องนี้ไม่ง่ายเลยที่จะปฏิบัติตามได้ การเปลี่ยนแปลงเพื่อปกป้องมนุษยชาตินี้ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ แต่มันจะน่าเหลือเชื่อยิ่งกว่า ว่ามนุษย์จะยังคงมีชีวิตอยู่ได้ในโลกที่ร้อนขึ้นนี้กันได้อย่างไร นี่ยังรวมถึงความเป็นไปได้ในการเกิดภัยพิบัติอันเป็นผลจากจากการดำเนินธุรกิจอย่างที่เราทำกันทุกวันนี้ด้วย
————————————————————————
ปีที่แล้ว ผู้คนจับตามองสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยความหวาดกลัวต่อผลกระทบของโรค ในช่วงเวลาเลวร้ายนี้เอง เราได้เห็นผู้นำและคนจำนวนมากทั่วโลกออกมาช่วยกันทำให้สถานการณ์ดีขึ้น
นียิ่งทำให้เห็นได้ชัดว่า วิ ก ฤ ต ทางสิ่งแวดล้อม ไม่เคยถูกมองเป็น "วิกฤต" จริงๆ ทั้งสำหรับนักการเมือง สื่อสารมวลชน นักธุรกิจ หรือนักเศรษฐศาสตร์ ยิ่งเราแสร้งทำเป็นว่าเราจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้สำเร็จและหลีกเลี่ยงหายนะทางภูมิอากาศได้ด้วยระบบที่เป็นอยู่อย่างทุกวันนี้เท่าไหร่ เรายิ่งสูญเสียเวลาที่มีค่ามากขึ้นเท่านั้น เพราะเราจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เลย หากเราไม่มันเป็นปัญหา
ความยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ ตราบใดที่เรายังคงเพิกเฉยต่อความอยุติธรรมทางสังคมและเชื้อชาติ รวมถึงการกดขี่ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งได้กลายเป็นรากฐานในยุคสมัยใหม่ การต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและความเท่าเทียมเป็นเรื่องสากล ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องความยุติธรรมด้านสังคม เชื้อชาติ สภาพภูมิอากาศ ความเท่าเทียมทางเพศ ประชาธิปไตย สิทธิของความเป็นมนุษย์ ของชาติพันธุ์ LGBTQ หรือสิทธิของสัตว์ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและสื่อ การต่อสู้เพื่อความสมดุล ความกินดีอยู่ดี การมีระบบที่เกื้อกูลต่อการใช้ชีวิต หากเราไม่มีความเท่าเทียมแล้ว เราก็จะไม่เหลืออะไรเลย ดังนั้น เราจึงไม่จำเป็นต้องเลือกหรือแยกแยะว่าปัญหาอะไรที่สำคัญเร่งด่วนกว่ากัน เพราะทุกปัญหาล้วนเชื่อมโยงกันหมด
เมื่อคุณลงนามในสนธิสัญญาปารีส และปฎิญาณที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว
ประเทศที่มีรายได้สูงที่มีความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง ควรแสดงความรับผิดชอบและทำตามข้อตกลงในสนธิสัญญาให้ได้
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2050 สำหรับยุโรปและสหรัฐอเมริกา
เป้าหมายนี้คำนวณจากสถิติงบประมาณคาร์บอน ที่แสดงให้เห็นว่า เรามีโอกาสเพียง 50% ในการป้องกันไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงไปกว่า 1.5 องศา สถิตินี้ยังไม่รวมปัจจัยต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบด้วย เช่น ความเหลื่อมล้ำ จุดวิกฤต และวงจะสะท้อนกลับ รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่แล้วอย่างมลพิษทางอากาศ ซึ่งส่งผลให้ความร้อนในโลกสูงมากขึ้น ในความเป็นจริงแล้ว เราอาจมีโอกาสไม่ถึง 50% ที่จะป้องกันไม่ให้โลกของเราร้อนขึ้น
และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ตั้งไว้จะไม่มีความหมายอะไรเลย หากเรายังนิ่งดูดายต่องบประมาณคาร์บอนที่เราเหลืออยู่ ซึ่งงบประมาณเริ่มนับถอยหลังและลดลงทุกวัน ตั้งแต่วันนี้ไม่ใช่ในอนาคต
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อาจไม่ได้บอกเราอย่างละเอียดว่าเราควรทำอย่างไร แต่มีข้อมูลให้เราได้ศึกษาและประเมินความเป็นไปได้มากมาย เรามีหน้าที่ที่จะเชื่อมโยงข้อมูล ต่อจุดแต่ละจุดเข้าด้วยกัน และพวกเราก็ทำการศึกษามาแล้ว และเราจะไม่ยอมรับการเลือกที่ขาดความรับผิดชอบของคุณ หากคุณบอกว่างบประมาณคาร์บอน 50% ไม่เพียงพอ ก็เท่ากับคุณยอมแพ้แล้ว...และนั่นไม่ใช่ทางเลือกของเรา
เราเห็นด้วยกับการลงทุนและนโยบายด้านความยั่งยืน แต่คุณต้องไม่ลืมแม้แต่วินาทีเดียวว่า สิ่งที่คุณได้หารือกันแล้ว ยังห่างไกลจากคำว่ายั่งยืนอยู่มาก พวกเราต้องเห็นภาพทั้งหมดว่าเรากำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตที่ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของมนุษยชาติ ในวิกฤตนี้ เราไม่สามารถที่จะซื้อ สร้าง หรือลงทุนได้อีก การตั้งเป้าที่จะฟื้นระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อเอาเงินนั้นมาขับเคลื่อนด้านสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่ไร้สาระ ระบบการเงินทุกวันนี้ไม่ได้พัง มันทำหน้าที่ของมันอย่างที่มันออกมาให้เป็น แต่ระบบนี้ไม่ไม่สามารถซ่อมได้ เราจึงต้องการ “ระบบใหม่”
การแข่งขันเพื่อรักษาความเป็นอยู่ของชีวิตบนโลกใบนี้ ต้องเริ่มเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่อีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่ต้องเป็นตอนนี้เท่านั้น! และการแข่งขันนี้ควรจะรวมข้อมูลต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อทำให้เราเห็นความเป็นไปได้ที่สุดที่จะป้องกันโลกไม่ให้มีอุณหูมิสูงไปกว่า 1.5 องศา พวกเราจำเป็นต้องยุติการทำลายล้าง การใช้ทรัพยากรเกินขนาด และการทำลายระบบนิเวศที่เป็นสิ่งค้ำจุนชีวิตของเรา เราควรจะก้าวไปสู่เศรษฐกิจใหม่ที่ลดการปล่อยคาร์บอน (decarbonized economy) โดยมีแก่นคือความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์และโลกใบนี้
ถ้าทุกประเทศยังเดินตามแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตัวเองตามที่ตั้งเป้าหมายไว้เดิม เราก็ยังคงต้องเจอกับความหายนะจากการที่อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้น 3-4 องศา กลุ่มผู้มีอำนาจในปัจจุบันได้ยอมแพ้กับความเป็นไปได้ที่จะมอบอนาคตที่ดีให้กับคนรุ่นต่อ ๆ ไป พวกเขายอมแพ้โดยไม่ได้พยายามเลย
แผนการผลิตพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลของโลกจนถึงปี 2030 นั้น สูงกว่าที่เราจะรับมือกับอุณหภูมิ 1.5 องศาอยู่ถึง 120% และแผนการผลิตนี้ไม่ได้ช่วยให้เราพ้นวิกฤตได้ ถ้าคุณได้อ่านและทำความเข้าใจรายงาน IPCC SR1.5 และรายงานของ UNEP เรื่องช่องว่างการผลิต ( Production Gap) อีกทั้งได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาปารีสแล้ว แม้แต่เด็ก ๆ ก็ยังเห็นข้อเท็จจริงที่ว่า ปัญหาภูมิอากาศและระบบนิเวศไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยระบบต่างๆ ที่เรามีในทุกวันนี้ และนี่ไม่ใช่ความคิดเห็น แต่เป็นความจริงที่อ้างอิงจากข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน
ถ้าเราต้องการที่จะหลีกเลี่ยงการล่มสลายทางภูมิอากาศ เราต้องกล้าที่จะฉีกสัญญาและละทิ้งข้อตกลงต่างๆ ที่มี และเริ่มต้นในระดับใหญ่ขึ้นในแบบที่เราไม่เคยจินตนาการถึงมาก่อน และการกระทำเหล่านั้นไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ภายใต้ระบบการเมือง เศรษฐกิจ หรือกฎหมายอย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
เวลาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการควบคุมไม่ให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นอีกไม่เกิน 1.5 องศา เพราะเวลากำลังเดินไปข้างหน้า แต่ละเดือน ปี ที่มาถึงจึงไม่อาจปล่อยให้สูญเปล่าได้ สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณทำขณะนี้ อาจไม่เพียงพออีกต่อไป คุณต้องเริ่มลงมือทำสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้
และคุณอาจจะเลือกที่จะนิ่งดูดายต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่นั่นไม่ใช่ตัวเลือกสำหรับเรา หรือสำหรับลูกของคุณ ณ เวลานี้ ไม่มีที่ไหนบนโลกที่เด็ก ๆ จะได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยในอนาคต วิกฤตนี้จะเกิดขึ้นและจะเป็นจริงอย่างยิ่ง ตลอดชีวิตของเรา เราขอให้คุณเผชิญหน้ากับภาวะฉุกเฉินทางสภาพอากาศ
We ask you to face the climate emergency.
by:
Luisa Neubauer
Greta Thunberg
Anuna de Wever van der Heyden
Adélaïde Charlier
ร่วมลงชื่อกับพวกเขาได้ที่ https://climateemergencyeu.org/