เราว่าใครเคสนี้มันเหมือนกับเรากำลังถามว่า “ยุงกับเสืออะไรน่ากลัวว่ากัน?” พลาสติกเม็ดเล็กก็เหมือนกับยุงตัวเล็กๆที่ยากต่อการต่อกร ในขณะที่ขวดหรือขยะพลาสติกชิ้นใหญ่อาจจะเหมือนกับเสือที่ยังพอเลี่ยงหรือหาทางตั้งรับได้ .
อาจจะได้ยินกันมามากแล้วเกี่ยวกับไมโครพลาสติกหรือพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ทีนี้พอไมโครพลาสติกย่อยเล็กลงไปอีก เล็กลงไปอีก...เล็กลงอีก...อีก...อีกนิด...อี๊กกก! เอาเป็นว่าโคตรเล็กระดับนาโนเมตร .
เล็กแค่ไหน? ก็คงพอๆกับ PM2.5 ที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (หรือเล็กกว่าปลายผมเราอีก 12-20 เท่า) . นาโนพลาสติกเหล่านี้เอาจริงๆมีการศึกษาน้อยมากๆ อาจจะเกิดจากการแตกตัวของพลาสติกชิ้นใหญ่ๆให้มีขนาดเล็กลง แต่เมื่อปีก่อนนักวิจัยยังพบว่าสัตว์จำพวก “เคย” หน้าตาคล้ายกุ้งตัวเล็กๆนี่จะย่อยเม็ดพลาสติกให้เป็นนาโนพลาสติกขนาดไม่ถึง 1 ไมครอนได้เลย .
เมื่อมันมีขนาดเล็กลงแล้ว สิ่งที่ตามมาคือพื้นผิวที่เพิ่มขึ้นด้วย นักวิจัยประมาณการว่าถ้าถุงพลาสติก 1 ใบสลายกลายเป็นพลาสติกขนาด 40 นาโนเมตร มันจะมีพื้นที่ผิวถึง 2600 ตารางเมตรหรือกินพื้นที่เกือบครึ่งของสนามฟุตบอลด้วยถุงแค่ใบเดียว พื้นผิวที่เพิ่มขึ้นทำกับนาโนพลาสติกจับกับสารเคมีต่างๆมากมายและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป .
งานวิจัยด้านนี้ก็ยังมีน้อยมั๊กๆ มีการทดลองผลกระทบของนาโนพลาสติกใน Daphnia หรือแพลงค์ตอนขนาดเล็กและพบว่านาโนพลาสติกทำให้เจ้าตัวนี้มีขนาดเล็กลงและมีโอกาสรอดชีวิตน้อยลงด้วย และมีผลกระทบแบบเดียวกันในหอยสองฝา ทำให้เราอดนึกถึงข่าวปะการังกินพลาสติกที่ออกมาเมื่อไม่นานนี่ว่า สัตว์ก็ไม่รู้หรอกว่าตัวมันกินอะไรเข้าไป แต่พอกินอิ่มแล้วก็ไม่ได้กินอาหารปกติอีก .
งานวิจัยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตอกย้ำว่าพลาสติกปนเปื้อนอยู่ในระบบนิเวศมากกว่าที่เราคิด และบางทีเวลาอาจจะไม่รอให้เราหานวัตกรรมใหม่ๆได้ทัน บางทีคุณอาจจะต้องเลือก Planet or Plastic?
อ้างอิง
https://www.researchgate.net/.../281514096_Nano-plastics... https://www.bbc.com/thai/international-43408004...
Picture credit : Øystein Paulsen - MAR-ECO